วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"แม่น้ำเพชรบุรี"  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “น้ำเพชร”  เป็นธรรมชาติมีต้นน้ำจากทิวเขาตะนาวศรี  ซึ่งแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศสหภาพพม่า  ไหลผ่านพื้นที่ในเขตอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด วัดท่าไชย อำเภอเมืองเพชรบุรี และลงสู่ทะเลอ่าวไทยที่อำเภอ    บ้านแหลมทางด้านทิศเหนือของจังหวัด

 แม่น้ำเพชร 

 มีความสำคัญในฐานะที่เป็นศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ฯลฯ ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นน้ำเสวยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราชกาลที่  4   สืบมา จนกระทั่งยกเลิกไปใน พ.ศ.2465 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ในอดีตกล่าวกันว่า น้ำเพชรมีรสอร่อย ใสสะอาด และจืดสนิท จึงถือได้ว่าน้ำเพชรเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบุรีอีกประการที่หนึ่งที่ชาวเพชรบุรีภาคภูมิใจ
เป็นน้ำสำหรับพระราชพิธี


           ตามโบราณราชประเพณีจะใช้จากแม่น้ำทั้ง 5 ในประเทศสยามคือ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรี ในการพระราชพิธีต่างๆ

           เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411 นั้นก็ได้ใช้น้ำเพชรบุรี ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามที่ปรากฏในตราสารว่า “ ด้วยกำหนดพระฤกษ์การพระราชพิธีราชาภิเษกในวันพุธ เดือน 12 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก ”ต้อง การน้ำเข้าพระราชพิธี จึงให้พระยาเพชรบุรีตักน้ำท่าไชยหม้อหนึ่งโดยเอาใบบอนปิดปากหม้อแล้วเอาผ้า ขาวหุ้มปากหม้อ ด้ายผูกติดมันตราประจำครั่งแต่งให้กรมการผู้ใหญ่คุมลงไปส่งยังกรุงเทพฯ

           สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกสมโภชพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 6 ได้จัดพระราชพิธีตามมณฑลต่างๆ สำหรับมณฑลราชบุรี ได้จัดที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี โดยได้ใช้น้ำเพชรบุรี ในการพระราชพิธีนี้ด้วย

           สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราชและพระราชพิธีราชภิเษกสมรสก็ได้ใช้น้ำจากแม่น้ำเพชรบุรี โดยประกอบพิธีน้ำอภิเษก ณ วัดมหาธาตุ ทำพิธีพลีกรรมตักน้ำที่เป็นสิริมงคล ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์วัดท่าไชย ตำบลสมอพลอ อำเภอบ้านลาด


เป็นน้ำเสวยสำหรับเครื่องต้น           เรื่องน้ำเพชรเป็น น้ำเสวยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล 6 ได้ทรงกล่าวไว้ในพระราชหัตถเลขาที่มีถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2465 ความตอนหนึ่งว่า"...เรื่องแม่น้ำเพชรบุรีนี้ เคยทราบมาแต่ว่าถือกันว่าเป็นน้ำดีเคยได้ยินพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5 รับ สั่งว่านิยมกันว่ามันมีรสแปลกกว่าลำน้ำเจ้าพระยา และท่านรับสั่งพระองค์เองเคยเสวยน้ำเพชรบุรีเสียจนเคยแล้วเสวยน้ำอื่นๆไม่ อร่อยเลยต้องส่งน้ำเสวยจากเมืองเพชรบุรีและน้ำนั้นเป็นน้ำเสวยจริงๆตลอดมา กาลปัจจุบัน" ซึ่งน่าจะเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองเพชรที่ เล่าขานเสมอมาว่าน้ำเพชรฯ นั้นดีจืดอร่อย แม้แต่ พระปิยะมหาราชก็ยังทรงโปรดเสวยน้ำเพชรที่ท่าไชยนับเป็นเกียรติคุณที่ชาว เพชรภาคภูมิใจ
           ความสำคัญของน้ำเพชรสิ้นสุดลงในพ.ศ.2465 โดย ได้เปลี่ยนเป็นน้ำประปาแทน ทั้งนี้เพราะทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า แม่น้ำเพชรบุรีตลอดสองฝั่งมีบ้านเรือนของราษฎรตั้งอยู่อย่างหนาแน่น น้ำในลำน้ำมีสิ่งปฏิกูลสกปรกไม่เหมาะสมที่จะเป็นน้ำเสวยอีกต่อไป จึงได้กราบบังคมทูลในรายงานของพระยายมราชเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกระแสให้งดการตักน้ำจากแม่น้ำเพชร

เป็นน้ำกิน น้ำใช้สำหรับราชทูต อุปทูต และตรีทูต

           ใน รัชสมัยของพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทีจำทูลพระราชสารออกไปเจริญพระราชไมตรี ในต่างประเทศ เป็นหน้าที่ที่เจ้าเมืองกรมการเมืองจะต้องลำเลียงใส่เรือสองลำเป็นประจำนำ ส่งที่อ่าวสามร้อยยอด บางครั้งเจ้าเมืองเจ้าเมืองกรมการเมืองลืมลำเลียงไปส่งตกเป็นภาระลำเลียง เอาน้ำเพชรไปเองทางเมืองเพชรบุรีต้องจ่ายค่าลำเลียงน้ำเป็นเงินลำละ 1 ชั่งสองลำก็เป็นเงิน 2 ชั่งทุกครั้ง



คุณค่าต่อชาวเมืองเพชรบุรี

           น้ำ จากแม่น้ำเพชรบุรีนอกจากจะมีความสำคัญสำหรับพระมหากษัตริย์แล้ว ยังมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของชาวเพชรบุรีอย่างต่อ เนื่องกล่าวคือ เป็นเส้นชีวิตสำหรับการเกษตร อุตสาหกรรม ผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนหนาแน่นบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ ยังใช้น้ำเพื่อการบริโดภคและอุปโภค เมื่อ 40 ปี ที่ผ่านมา ชาวเมืองเพชรบุรีส่วนใหญ่ลงอาบน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ผู้ชายนุ่งผ้าขาวม้า ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงลงอาบน้ำกันตลอดจนการซักล้างภาชนะต่างๆนับว่าเป็นภาพที่ มีชีวิตชีวายิ่ง นอกจากนี้ในบริเวณท่าน้ำภายในตัวเมืองจะมีเรือนานาชนิด ทั้งเรือพาย เรือแจว เรือถ่อและเรือพ่วง นำผลิตผลมาค้าขายกันนับเป็นตลาดน้ำที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในอดีต

           วัด ท่าไชยศิริเดิมเรียกวัดใต้ เพราะอยู่ด้านใต้ของลำน้ำเพชรบุรีมีอานาเขตติดต่อกับวักกลาง และวัดเหนือ ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง ศิลปกรรมที่สำคัญของวัดคือพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ สันนิษฐานว่าเป็นสมัยลพบุรีรุ่นหลัง

 




 

          นอก จากนี้ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์คือ เป็นที่ตักน้ำเพื่อใช้พิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ และเป็นที่ตักน้ำสรง น้ำเสวยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

           ปัจจุบัน เมื่อมีการตักน้ำที่ท่าน้ำเพื่อไปใช้ในงานราชพิธีก็จะมีการกรองด้วยผ้าขาว บางก่อนชั้นหนึ่งและนำมากรองด้วยเครื่องกรองน้ำเพื่อให้มั่นใจว่าสะอาด”